วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ
    
    วันนี้อาจารย์สอนประดิษฐ์สื่อ 3 ชิ้น คือ
1. แม่ไก่ออกไข่
2. สื่อบอกความสัมพันธ์ที่อยู่ของสัตว์ต่างๆ
3. สื่อหนังสือเล่มเล็กพับได้









การนำมาประยุกต์ใช้
    สามารถนำสื่อต่างๆไปประยุกต์ใช้ในการสอนในหน่วยต่างๆ ที่เราจะใช้สอนเด็กได้ ทำให้เด็กสนใจเรียนมากขึ้น

การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำสื่อต่างๆด้วยความตั้งใจ
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆตั้งใจทำสื่อของตนเองอย่างตั้งใจ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำในการทำสื่อแต่ละชิ้นอย่างดี




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ
      
      นำเสนอแผ่นชาร์ทที่แต่ละกลุ่มได้เลือกสื่อที่ดีที่สุดของกลุ่มตนเองออกมานำเสนอ ว่าสื่อชิ้นนั้นดีอย่างไร และมีข้อจำกัดอย่างไร









เนื่องในวันนี้เป็นวันวาเลนไทน์อาจารย์สอนประดิษฐ์การ์ดป๊อบอัพ




การนำมาประยุกต์ใช้

      ได้เรียนรู้ว่าสื่อแต่ละแบบมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไป เราจะได้นำข้อมูลไปใช้ในหารเลือกสื่อให้เหมาะสมกับวัยเด็ก และสามารถการนำทำการ์ดไปทำเนื่องในวันสำคัญ หรือโอกาสสำคัญอื่นๆได้

การประเมิน 

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ ตั้งใจทำการ์ด
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆแต่ละกลุ่มตั้งใจนำเสนอ 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้ความรู้ในเรื่องการทำการ์ดได้ดี เข้าใจง่าย 






วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ
       
       กระบวนการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้
             การเล่นในขั้นที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นรวมกลุ่มกับผู้อื่นได้ โดยเริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ ไปสู่การเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ ครูสามารถพัฒนาและจัดการเล่นในลักษณะที่สูงขึ้นนี้ได้โดยการให้เด็กเล่นเกมชนิดต่าง ๆ

เกม (Games)
         นักการศึกษาปฐมวัย ได้อธิบายว่า เกม เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก  ซึ่งเกมจะเป็นเครื่องจูงใจเพื่อนำเด็กไปสู่การเรียนรู้อย่างสนุกสนาน และเกมสำหรับเด็กนั้นไม่มุ่งเน้นในเรื่องของการแข่งขันหรือการหาผู้ที่ชนะ
เกมการเล่น
1. เกมช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
2. เกมช่วยพัฒนาทักษะกลไกในการเคลื่อนไหว
3. เกมช่วยสนับสนุนให้เด็กมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
4. เกมช่วยในการปรับตัวทางสังคม
แนวคิดการจัดเกม
1.เกณฑ์การเลือกเกม
          1.1 ต้องพิจารณาว่าเกมนั้น ๆ จะส่งเสริมพัฒนาการเด็กในด้านใด
         1.2 เกมที่นำมาให้เด็กเล่นนั้นจะต้องช่วยส่งเสริมให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหว
 2. การวางแผนการเล่นเกม
3. วิธีดำเนินการให้เด็กเล่นเกม
4. การสอนเกมลักษณะต่างๆ
เกมการศึกษา (Didactic of Cognitive Game) หมายถึง สื่อการเรียน ที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ จากการเล่นโดยมีกฎเกณฑ์หรือกติกา จะเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม

ประเภทของเกมการศึกษา

1.เกมการจับคู่



2.เกมการจัดหมวดหมู่


3.เกมภาพตัดต่อ



4.เกมเรียงลำดับภาพหรือภาพต่อเนื่อง



5.เกมโดมิโน่หรือเกมต่อภาพเหมือน



6.เกมตารางสัมพันธ์



7.เกมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์



8.เกมลอตโต



ลักษณะที่ดีของเกมการศึกษา
1) ไม่จำเป็นต้องมีการตระเตรียมกันมาล่วงหน้า หรือถ้ามีก็ควรให้น้อยที่สุด
2) เป็นเกมที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน และมีลักษณะท้าทายความสามารถของเด็ก
3) มีคำสั่งและกติกาในการเล่นชัดเจน
4) เป็นเกมสั้น ๆ ไม่ควรใช้เวลาเกิน 15 นาที



การนำมาประยุกต์ใช้

         สามารถนำเทคนิคการวิเคราะห์สื่อไปใช้ในการเลือกสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยได้  ได้รูประเภทของเกมการศึกษาสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยได้


การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน : เพื่อตั้งใจเรียนซักถามสิ่งที่ไม่เข้าใจ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนดี ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่าย




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ

สื่อการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ สามารถจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม
        1.1 วัสดุการสอนที่ครูจัดทำหรือจัดหามา
        1.2 วัสดุการสอนที่มีผู้จัดทำจำหน่าย
   1.2.1 สิ่งพิมพ์
   1.2.2 ภาพชุด
   1.2.3 เทปโทรทัศน์
   1.2.4 เทปเสียง
2.สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
  2.1 เครื่องเสียง
  2.2 อุปกรณ์ประกอบเครื่องฉาย
  2.3 อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับการใช้เสียงหรือให้ภาพ
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ
  3.1 การสาธิต    3.2 การทดลอง   3.3 เกม  3.4 การแสดงบทบาทสมมติ
  3.5 การจำลองสถานการณ์   3.6 การฝึกปฏิบัติจริงหลังการสนทนาเนื้อหา
  3.7 ทัศนศึกษา    3.8กิจกรรมอิสระ   3.9 กิจกรรมที่จัดขึ้นตามโครงการ

ความสำคัญของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
1) สื่อเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้เด็ก ได้รับประสบการณ์ตรง
2) สื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม และเกิดมโนทัศน์ตรงกับข้อเท็จจริง
3) ช่วยสร้างความสนใจของเด็กและเป็นสิ่งเร้าให้เด็กสนใจที่จะทำกิจกรรมและเกิดการเรียนรู้ได้ดี
4) ช่วยให้เด็กจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายและไม่ลืม
5) ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่าย ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น

สื่อการสอนเดินได้
การเรียนการสอนนั้นบางครั้งแม้ไม่มีสื่ออยู่ในมือเลย การเรียนการสอนก็ประสบผลสำเร็จได้เพราะครูและสิ่งที่ครูมีอยู่ในตัว
      1) สายตา
      2) สีหน้า
      3) น้ำเสียง

ทฤษฎีและพัฒนาการการเล่นของเด็กปฐมวัย
      การเล่นเป็นโอกาสที่เด็กจะได้ศึกษาสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีความเข้าใจสิ่งแวดล้อมและสังคม ช่วยให้เด็กเกิดการปรับตัวให้เข้ากับสังคมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและเป็นโอกาสของการฝึกฝนในเรื่องของความรับผิดชอบ ทั้งนี้ รูดอล์ฟ (Rudolph, 1984, p. 95) ได้
สรุปไว้เป็นองค์ประกอบของการเล่นได้ 3 ประการ ดังนี้
       1. การเล่นนำไปสู่การค้นพบเหตุผลและความคิด
       2. การเล่นเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเด็กกับสังคม
       3. การเล่นเป็นการนำเด็กไปสู่ภาวะความสมดุลทางอารมณ์


      เครื่องเล่นของเด็กมีความสำคัญในการพัฒนาร่างกายและจิตใจของเด็กและเยาวชน ผู้ทำหน้าที่เป็นแพทย์หรือบุคลากรการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ควรศึกษาและให้ความสนใจในเรื่องเครื่องเล่นพอสมควรทั้งนี้เพื่อจะได้ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกสรรและจัดหาเครื่องเล่นให้ถูกต้องเหมาะสมกับผู้เล่นตลอดจนหาทางช่วยส่งเสริมการผลิตเครื่องเล่นให้มากขึ้นภายในประเทศโดยทางอ้อมต่อไป
              
       สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยมีหลายประเภท เช่น สื่อการสอนประเภทวัสดุ สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ สื่อการสอนประเภทวิธีการ การใช้สื่อสร้างสรรค์หมายถึงสื่อการสอนที่ดีสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ แนวคิด ทักษะในการพัฒนาเด็กทีมีคุณภาพตามจุดมุ่งหมาย การสอนสำหรับเด็กต้องให้เหมาะสมกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการทั้ง4ด้าน ต้องเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ได้ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ได้เองให้มากที่สุด

การนำมาประยุกต์ใช้

      เราสามารถนำสื่อสร้างสรรค์มาใช้สำหรับการสอนเด็กได้ แต่ต้องเลือกที่เหมาะสมกับวัย และเน้นให้เด้กได้เรียนรู้ด้วยตัวเองให้มากที่สุด

การประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ทำความเข้าใจเนื้อหา
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียนเมื่อสงสัยก็ซักถาม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนดีและเข้าใจง่าย






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ

     ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ช่วงปฐมวัยควรให้ความสำคัญที่สุด เพราะเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญต่อการวางรากฐานของชีวิตมนุษย์ ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยคือ ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ต้องการการดูแลเอาใจใส่ ชอบเล่น มีช่วงความสนใจสั้น ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 1.การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เรียนรู้จากการที่เด็กได้สัมผัสประสบการณ์ตรง
2.การเรียนรู้จากประสบการณ์อ้อม การบอกเล่าจากบุคคลต่างๆ
การเรียนรู้จะมีกระบวนการคือ
1.มีสิ่งมาเล่า
2.ผู้เรียนรับสิ่งเล้า
3.แปลความหมายของสิ่งเล้า
4.มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้า
5.ผู้เรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้น
              การเลือกสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยควรเน้นพัฒนาการทั้ง4ด้าน ส่วนการทำกิจกรรมควรให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองและกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความสามารถแสดงออกให้มาก
             ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
เป็นการเรียนรู้ที่เด็กได้พบหรือสัมผัสกับประสบการณ์ จากสภาพแวดล้อมโดยการกระทำ การรับรู้ การพบเห็นด้วยตนเอง
2. การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม การเรียนรู้จากประสบการณ์
ทางอ้อม เป็นการเรียนรู้จากการบอกเล่าของบุคคลต่าง ๆ
การจำแนกลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก
ลักษณะที่ 1 การเรียนรู้โดยสัญชาตญาณ
ลักษณะที่ 2 เป็นการเรียนรู้จากการช่วยเหลือจากพ่อแม่
ลักษณะที่ 3 การเรียนรู้จากโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมอย่างมีระบบ

รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. การเรียนรู้โดยใช้ความสามารถในการใช้สายตา เป็นการเรียนรู้ที่เด็กสามารถเปรียบเทียบด้วยสายตา ด้วยการมองเห็นความต่าง ความเหมือน
2. การเรียนรู้โดยการได้ยินได้ฟัง จากการได้ยินได้ฟังเสียงจากที่ต่างๆ หรือจากบุคคล เด็กจะสามารถรู้ที่มาของเสียง สามารถแยกความเหมือนความต่างของเสียงได้
3. การเรียนรู้โดยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ของกล้ามเนื้อ

กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
            การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในช่วงชีวิตของแต่ละคน และช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดี  พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กสามารถพัฒนาได้สูงสุด เป็นโอกาสทองของการเรียนรู้ของมนุษย์ และเป็นช่วงวัยที่สมองกำลังไวต่อสิ่ง
กระตุ้น (Sensitive)

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ BLOOM (BLOOM'S TAXONOMY)
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 6 ระดับ ประกอบด้วย
1.ความจำ (knowledge)
2.การประยุกต์ (Application)
3.ความเข้าใจ (Comprehend) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
4.การสังเคราะห์ (Synthesis)
5.การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ สามารถนำส่วนต่าง ๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ ให้แตกต่างจากรูปเดิม
6.การประเมินค่า (Evaluation) สามารถวัดได้ เน้นโครงสร้างใหม่ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์(BRUNER)
1. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่าง ๆ
4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง ซึ่งเนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
             
      การใช้สื่อสร้างสรรค์หมายถึงสื่อการสอนที่ดีที่สามารถถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ ทัศนคติ แนวคิด และทักษะในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมาย การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี การสอนสำหรับเด็ก ต้องให้เหมาะสมกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และจิตใจของเด็กปฐมวัยอีกทั้งยังต้องเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด

การนำมาประยุกต์ใช้

   
      ทำให้เราเข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย และสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมกับเด็กได้

การประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและพยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหา

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนดีและมีการสร้างความสนุกภายในห้องเรียน





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ

      ปฐมนิเทศ แนะนำรายวิชาและข้อตกลงในการเรียน มีการตกลงให้ทำแฟ้มสะสมงานโดยการทำBlog และอาจารย์ได้แนะนำการลงทะเบียนเรียนในรายวิชาต่างๆ จากนั้นได้ให้นักศึกษาทำ pre-test เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย และจารย์ได้ให้นักศึกษาถามอะไรก็ได้ที่ตัวเองอยากรู้มาคนละ 1 ข้อ